วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

                                        
                                                       อักษรเฮียโรกลิฟฟิค

          อักษรเฮียโรกลิฟฟิค เป็นตัวอักษรของอียิปต์ มีลักษณะอักษรเป็นภาพ ลักษณะเดียวกับอักษรของชาว สุเมเรียน โดยใช้ภาพเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งที่สื่อความหมาย ตัวอักษรของอียิปต์ มีคุณค่าในการศึกษาประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณได้เป็นอย่างดี เพราะถือเป็นหลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษรที่หลงเหลือมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
      อักษรที่ชาวอียิปต์โบราณใช้ มีรูปเป็นภาพสลักลงบนหินด้วยเหล็กแหลม เรียกว่า อักษรเฮียโรกลิฟฟิค (Hieroglyphic) ซึ่งแปลว่า อักษรศักดิ์สิทธิ์เขียนเป็นรูปภาพ เช่น รูปคน รูปสัตว์ ต้นไม้ หรือวัสดุต่างๆ สผมกันเข้าเป็นคำหรือประโยค เป็นเครื่องหมายแทนความเข้าใจอย่างหนึ่ง อักษรเฮียโรกลิฟฟิค ใช้กันตั้งแต่ราชวงศ์ที่ 2 เป็นหนังสือที่เก่าที่สุด ครั้นต่อมา มีผู้ดัดแปลงหนังสือให้น้อยลงเหลือเพียงประมาณ 600 ตัว แต่ยังคงเขียนเป็นภาพเหมือนกัน เรียกว่า เฮียราติก (Hieratic) ใช้มากในราชวงศ์ที่ 5 อักษรอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า เดโมติก ไม่ได้ใช้เขียนเป็นภาพ หากเปลี่ยนแปลงแก้ไขลงไปจนเกือบเป็นอักษรอย่างที่ใช้กันทุกวันนี้
        ตัวอักษรของอียิปต์เป็นตัวอักษรที่อ่านยากมาก จนในที่สุดไม่มีใครอ่านออก และไม่มีใครเอาใจใส่ จนกระทั้ง ประมาณคริสต์ศักราช 1799 เมื่อนโปเลี่ยนยกทัพไปอียิปต์ ได้ขุดสนามเพลาะที่ปากน้ำโรเซตาแห่งแม่น้ำอียิปไนล์ ได้พบศิลาจารึกแผ่นหนึ่งสูงประมาณ 3 ฟุต มีอักษรอียิปต์และกรีกโบราณ นักปราชญ์พยายามอ่านข้อความในจารึกจนกระทั้งอ่านออก ผู้อ่านคือ นักภาษาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ ชองโปลิออง (Changpoleon) ทราบว่าเป็นเรื่องราวสรรเสริญพระเกียรติ ของปโทเลมี่ที่5 กษัตริย์ราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองอียิปต์ มีวิธีการอ่าน โดยพิจารณาตัวอักษรภาพในวงรีก่อนแล้วใช้อักษรกรีกแทนค่า (ม.ร.ว แสงโสม เกษมศรี และ สมบูรณ์ ธรรมครองอาตม์ 2499 : 24) สำหรับตัวอักษรที่ชองโปลิออง อ่านเป็นตัวอักษรเฮียโรกลิฟฟิค เมื่ออ่านอมโยงกัน ประวัติศาสตร์อียิปต์จึงเป็นที่กระจ่างชัดแก่ชาวโลก เพราะ มีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่ได้อักษรนี้ออกแล้วก็นำไปสู่การอ่านอักษรเฮียราติก และ เดโมติกได้เพราะมีความได้ เพราะมีความเชื่จารึกไว้
       ผู้ที่สามารถถอดความหมายของอักษรเฮียโรกลิฟฟิคได้สำเร็จก็คือ นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ ฌอง-ฟรองซัว ชองโปลิอง (Jean-Fhamcois Champoliion) เขาสามารถสรุปได้ว่า อักษรเฮียโรกลิฟฟิคสะกดคำ โดยถือเสียงเป็นเกณต์ และตัวอักษรจริงๆ แล้วมีเพียงแค่ 66 ตัว ที่ใช้ประสมเป็นคำ ซึ่งแทนเสียงพยัญชนะและสระ ในภาษาพูด และอักษรบางตัวก็ใช้ซ้ำๆกัน ชองโปลิองศึกษาภาษาโบราณนี้อยู่นาน ใช้เวลาในการศึกถึง 14 ปี เขาก็สามารถรวบรวมตำราไวยากรณ์และพจนานุกรมภาษาอียิปต์ได้สำเร็จ

      ตั้งแต่นั้นมามนุษย์ในยุคปัจจุบัน จึงสามารถเรียนรู้อารยธรรมอียิปต์โบราณอันยิ่งใหญ่ควบคู่ไปกับการได้เห็นหลักฐาน นั้นก็คือ มหาพีรามิดแห่งกิเซและมัมมี ขององค์ฟาโรห์
ซึ่งเป็นเกณต์ และตัวอักษรจริงๆ แล้วมีเพียงแค่ 66 ตัว ที่ใช้ประสมเป็นคำ ซึ่งแทนเสียงพยัญชนะและสระ ในภาษาพูด และอักษรบางตัวก็ใช้ซ้ำๆกัน ชองโปลิองศึกษาภาษาโบราณนี้อยู่นาน ใช้เวลาในการศึกถึง 14 ปี เขาก็สามารถรวบรวมตำราไวยากรณ์และพจนานุกรมภาษาอียิปต์ได้สำเร็จ
      ตั้งแต่นั้นมามนุษย์ในยุคปัจจุบัน จึงสามารถเรียนรู้อารยธรรมอียิปต์โบราณอันยิ่งใหญ่ควบคู่ไปกับการได้เห็นหลักฐาน นั้นก็คือ มหาพีรามิดแห่งกิเซและมัมมี ขององค์ฟาโรห์





  

วัสดุในการเขียนหนังสือของชาวอียิปต์
      สำหรับวัสดุที่ใช้ในการเขียนหนังสือของชาวอียิปต์โบราณ ประกอบด้วยหมึก ปากกา กระดาษ
      ในช่วงแรกๆ อักษรไฮโดกลิฟฟิค จะใช้บันทึกลงบนแผ่นหินหน้าเรียบ ต่อมาเมื่ออียิปต์ รู้จักสร้างกระดาษขึ้น ก็หันมาบันทึกลงบนแผ่นกระดาษแทน
     
       กระดาษ ของชาวอียิปต์ทำมาจากต้นไม้เมืองชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า ต้นปาปิรุส (papyrus) ซึ้งขึ้นอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำไนล์ โดยแกะเอาเปลือกออก แล้วนำมาเรียงแผ่กันหลายๆชั้น แล้วตีให้เป็นเนื้อเดียวกัน แผ่นกระดาษเหล่านั้นจะนำมาต่อกัน บางฉบับยาวนับเป็นสิบๆ หลา เมื่อเขียนเสร็จแล้วจะม้วนเก็บไว้ เรียกว่าม้วนปาปิรัส
      
        ส่วนน้ำหมึก ชาวอียิปต์มาทำหมึก โดยใช้ยางของพืชชนิดหนึ่งใส่ลงไปในน้ำนิดหน่อย ยางของพืชนั้นจะทำให้เกิดน้ำข้นขึ้น แล้วนำไปผสมกับเขม่าสีดำที่ติดอยู่กับก้นหม้อซึ่งมีเขม่าจับ คนให้เข้ากันอย่างดี
     
       ส่วนปากกานั้น ชาวอียิปต์ใช้ต้นอ้อซึ่งขึ้นอยู่ตามแถบแม่น้ำไนล์ เสี้ยมปลายให้แหลมแล้วจิ้มหมึกลงบนกระดาษปาบีรุสเป็นแผ่นแคบๆ ถ้าต้องการให้ใหญ่ขึ้นชาวอียิปต์ก็ทำให้แผ่นแคบๆนั้นติดกัน โดยใช้ยางไม้เหนียวๆ ทา ทำให้ชาวอียิปต์มีกระดาษเรียบสีเกือบขาวไว้ใช้ พร้อมทั้งหมึกและปากกาใช้ในสมัยโบราณ (สมบูรณ์ ธรรมครองอาต์ 2514 : 66-67)
      ในช่วงที่อียิปต์โบราณรุ่งเรือง 2000 กว่าปีนั้น อักษรภาพไฮโรกลิฟ ได้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัย ต่อมาชาวอียิปต์โบราณเห็นว่า การเขียนแบบไฮโดกลิฟนั้น ไม่กระชับ จึงพัฒนาสัญลักษณ์แบบ ไฮราติก(Hieratic) ขึ้นดังแสดงในรูปที่ 3 ตัวเลขแบบไฮราติกนั้น ต้องใช้ความจำมากขึ้น เพราะมีสัญลักษณ์ทั้งหมด 36 ตัว (จากเดิมที่มีอักษรภาพเพียง7ตัว) แต่ข้อดี ก็คือ เมื่อนำไปเขียนเป็นตัวเลข วิธีใหม่นี้สามารถลดจำนวนสัญลักษณ์ลง จากเดิมตัวเลข  9,999  ต้องใช้อักษรภาพ 36 ตัว ก็เหลือใช้สัญลักษณ์แบบไฮราติกเพียง 4 ตัวเท่านั้น  สำหรับข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่าง สัญลักษณ์แบบไฮราติก  และระบบจำนวนที่พวกเราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้น ก็คือ ตำแหน่งของสัญลักษณ์แบบไฮราติก ไม่มีผลต่อค่าของตัวเลข                                                                                                                                ระบบเลขของชาวอียิปต์โบราณเป็นระบบเลขไม่มีหลัก เพราะ ไม่ว่าจะเขียนสัญลักษณ์ไว้ที่ตำแหน่งใดก็มีค่าคงที่เสมอ
       
     ไฮโดกลิฟฟิค เพิ่งมีการอ่านและแปลความหมาย ได้อย่างชัดเจนเป็นระบบเมื่อมีการค้นพบหิน โรเซตตา ในปี ค.ศ.1799 ตัวอักษรที่จารึกบนแผ่นหินมีอักษร 3 แบบ คือ กรีกโบราณ ดีโมติก และ ไฮโรกลิฟ จึงทำให้การเปรียบเทียบชื่อราชวงศ์ต่างๆ โดยใช้ตัวอักษร 3 แบบนี้ และทำให้ผู้เชียวชาญภาษาโบราณ Jean-Francosis Champollion ชาวฝรั่งเศสถอดความอักษรนี้ใน 25 ปีต่อมา
        
     อักษรไฮโดกลิฟฟิค มีทิศทางการเขียนเป็นได้หลายแบบ ทั้งแนวนอนซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้าย แนวตั้ง จากบนลงล่างทั้งซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้าย เราจะรู้ทิศทางการอ่านให้สังเกตจากการหันหน้าของรูปคนหรือสัตว์ ถ้าหันหน้าไปทางขวาไปซ้าย ถ้ารูปหันหน้าไปทางซ้ายให้อ่านจากซ้ายไปขวา หรือสรุปได้ว่า รูปจะหันหน้าเข้าสู่จุดเริ่มต้นในการอ่านเสมอ


จุดกำเนิด
       ชาวอียิปต์เชื่อว่าอักษรนี้ประดิษฐ์ โดยเทพเจ้าโทห์ และเรียกชื่ออักษรว่า mdwt ntr (คำพูดของพระเจ้า) คำว่าเฮียโรกลิฟิกส์ มาจากภาษากรีก hieros (ศักดิ์สิทธิ์ ) + glypho (จารึก) คำนี้ใช้เป็นครั้งแรก โดยคลีเมนต์แห่งอเล็กซานเดรีย การเขียน ในอียิปต์ที่เก่าที่สุด เริ่มเมื่อราว 2,857 ปี ก่อนพุทธศักราช ส่วนอักษรเฮียโรกลิฟฟิกที่ใหม่ที่สุด เป็นการประกาศที่กำแพงวิหารในฟิแล (philae)  อายุราว พฺ.ศ. 939 อักษรนี้ใช้กับจารึกอย่างเป็นทางการ ตามกำแพงวิหารและหลุมฝังศพ บางแห่งมีการระบายสีด้วย การเขียนทั่วไปในชีวิตประจำวันใช้

อักษรเฮียราติก หลังจากจักรพรรดิทีออสซุอุสที่ 1 สั่งปิดวิหารของพวกเพเกิน ทั่วจักรวรรดิโรมันในช่วง พ. . 1000 ความรู้เกี่ยวกับอักษรนี้ ได้สูญหายไป จนกระทั่ง ณอง-ฟรองซัว ฌองโปลิอง ชาวฝรั่งเศสถอดความอักษรนี้ได้
                       

                         


เเลเมื่อมีการค้นพบศิลาจารึกโรเช็ตตา ซึ่งเป็นแผ่นหินบะซอลต์สีดำ สูงประมาณ 140 เซนติเมตร กว้าง 72เซนติเมตร ในปี ค..1799 ที่เมืองโรเช็ตตา ประเทศอียิปต์ บรรดานักปราชญ์ราชบัณฑิตจึงพยายามศึกษาเพื่อถอดความหมายของอักษรโบราณนี้ และพบว่าบนศิลาจารึกมีจารึกเป็นอักษร 3 ภาษา คือ อักษรเฮียโรกลิฟิกส์ อักษรเดโมติก และอักษรกรีกโบราณ ข้อความบนศิลาจารึกขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่ฟาโรห์ปโตเลมีที่ 5 เมื่อประมาณ 196 ปีก่อนคริสต์ศักราช
      แต่คนอียิปต์ในปัจจุบัน ไม่ได้พูดและใช้ภาษาอียิปต์โบราณอีกแล้ว แต่พูดภาษาอาหรับ ภาษาลูกของชาวอียิปต์โบราณที่เหลือคือ ภาษาคอปติก ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในโบสถ์ของศาสนาคริสต์นิกายคอปติกที่เรียกว่า คอปติกเชิร์ช
     
            

 ลักษณะ
       อักษรไฮโรกลิฟฟิก อาจจะเก่ากว่าอักษรรูปปลิ่มของชาวสุเมเรียน ทิศทางการเขียนเป็น ได้หลายแบบ ทั้งแนวนอน ซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้าย แนวตั้งจากบนลงล่าง ซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้าย การบอกทิศทางสังเกตุจากการหันหน้าของรูปคนหรือสัตว์ ซึ่งจะหันหน้าเข้าหาจุดเริ่มต้นของเส้น อียิปต์ยุคต้นและยุคกลาง (ราว1,457-1,057 ปีก่อนพุทธศักราช) ใช้สัญลักณ์ 700 ตัว ในยุคกรีก-โรมัน ใช้สัญลักษณ์มากกว่า 5600 ตัว สัญลักษณ์แต่ละตัวบอกทั้งการออกเสียงและความหมาย เช่น สัญลักษณ์ของจระเข้ เป็นรูปจระเข้รวมกับสัญลักษณ์แทนเสียง”msh” เช่นเดียวกับคำว่าแมว”miw” จะใช้รูปแมว รวมกับสัญลักษณ์แทนอักษร m I และ w อักษรที่มีลักษณะเช่นเดียวกับอักษรเฮียโรกลิฟฟิกของอียิปต์จะเรียกอักษรเฮียโดกลิฟฟิคด้วย เช่นอักษรเฮียโรกลิฟฟิกของชาวลูเวียและชาวฮิตไตน์


 ความเชื่อ
    ชาวอียิปต์มีความชำนาญทางศิลปะหัตกรรม งานช่าง และการทำหนังสือ โดยเฉพาะหนังสือที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมต่างๆ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับชีวิตหลังความตายและอักษรภาพหรือภาษาตามความเชื่อที่มีอำนาจและอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตและพิธีกรรม
ชาวอียิปต์ เชื่อว่าตัวอักษรของพวกเขาประดิษฐ์ขึ้นโดยเทพเจ้าธอธ (Thoth) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งภูมิปัญญา และจอความดีชั่วของผู้ตาย และเรียกชื่อตัวอักษรของพวกเขาว่า “mdw nTr” หรือคำพูดของเทพเจ้า


      ดังนั้น ตัวอักษรในยุคแรกๆ จึงมักจะพบถูกจารึกคู่กับการแกะสลักหรือวาดภาพเทพเจ้า ไม่ว่าจะบนกำแพงวิหาร, หลุมฝังศพหรือโลง ที่ทำจากหิน เพื่อคุ้มครองผู้ตาย นอกจากนี้ยังจารึกที่เป็นคำสาปแช่งผู้ที่ล่วงละเมิดสุสาน

2 ความคิดเห็น:

  1. The Ultimate Guide to Casino Slots & RTP | 2021
    What is you bet a RTP? A classic casino slot, also known as the Mega Drive, is a video slot with 블랙 잭 규칙 25 paylines. It moonpay can be 안전 사설 토토 사이트 played at any of our 바카라 몬 casinos

    ตอบลบ
  2. Playtech Casinos - Mapyro
    Top 통영 출장마사지 10 Casinos. Games available 강원도 출장샵 · 10 Casino. 2. Microgaming. 3. Playtech. 4. 1xbet. 5. Casimba. 6. Casino Games. 7. 대전광역 출장안마 Red Dog. 포항 출장마사지 8. 문경 출장마사지

    ตอบลบ